0
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ กิจกรรมการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ได้ที่นี่
0
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ประชาสัมพันธ์ การตอบแบบประเมิน EIT ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565-31 พฤษภาคม 2565 ได้ที่นี่
0
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ประชาสัมพันธ์ การตอบแบบประเมิน IIT ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565-31 พฤษภาคม 2565 ได้ที่นี่
0
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ที่นี่
0
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ คู่มือการปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ที่นี่
0
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ คู่มือ การปฏิบัติงาน ทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ที่นี่
0
โครงการอบรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมอิสลาม พ.ศ.2564
0
0
วันปิยมหาราช
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ภาษาอังกฤษคือ Chulalongkorn Day เป็นวันสำคัญ และวันหยุดราชการวันหนึ่งของไทย โดยวันนี้เป็นวันที่คนไทยรู้จักกันดีคือ “วันเลิกทาส” ตั้งแต่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 และห้ามมีการซื้อขายทาสอีกในประเทศไทย
ประวัติของวันปิยมหาราช
วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศเลิกทาส เป็นการหยุดวงจรการเป็นทาส เพราะเมื่อสมัยก่อนหากพ่อแม่เป็นทาส ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นทาสต่อไปเรื่อยๆ ทางราชการจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็นหนึ่งในวันระลึกถึงความสำคัญของเหตุการณ์ในชาติ โดยเรียกว่า “วันปิยมหาราช” พร้อมทั้งกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ
ความสำคัญ
วันปิยมหาราช เป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในทุกๆ ปีหน่วยงานราชการจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ ที่พระบรมรูปทรงม้าอย่างพร้อมเพรียง เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การเลิกไพร่ เลิกทาส
แต่ดั้งเดิมนั้นประเทศไทยของเรา มีพลเมืองที่เป็นชนชั้นทาสมากกว่า 30% ของพลเมืองทั้งประเทศ เนื่องจากการได้รับวรรณะทาสนั้นจะถูกสืบจากสายเลือด หากพ่อแม่เป็นทาส ลูกก็จะเป็นทาสด้วย โดยทาสนั้นแบ่งออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ
- ทาสสินไถ่: เกิดจากการขายตัวเป็นทาส ทาสประเภทนี้มักยากจน
- ทาสในเรือนเบี้ย: เกิดจากการที่แม่เป็นทาส พ่อเป็นนายทาส
- ทาสมรดก: เกิดจากการส่งต่อมรดกของนายทาสที่เสียชีวิตลง ส่งให้นายทาสคนต่อไป
- ทาสท่านให้: ทานที่ได้รับมาจากผู้อื่น
- ทาสทัณฑ์โทษ: กรณีที่บุคคลนั้นถูกลงโทษ แต่ไม่สามารถหาเงินมาชดใช้ได้หมด ถ้าหากมีนายทาสมาช่วยเหลือ ถือว่าบุคคลนั้นกลายเป็นทาสของนายทาสคนนั้น
- ทาสที่ช่วยไว้จากความอดอยาก: คือการขายตนเองให้นายทาส เพื่อหลีกหนีจากความอดอยากที่เผชิญอยู่
- ทาสเชลย: เกิดจากการที่ประเทศหรือพลเมืองนั้นๆ แพ้สงคราม จึงถูกผู้ชนะสงครามนำคนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้
การจะหลุดออกจากการเป็นทาสนั้นมี 6 วิธี
- การหาเงินมาไถ่ถอนตนเอง
- การบวชที่ต้องได้รับการยินยอมจากนายทาส
- การหลบหนีจากการเป็นเชลยในสงคราม
- การแต่งงานกับชนชั้นสูงกว่า
- การแจ้งความนายจ้างว่าเป็นกบฏ และตรวจสอบว่าเป็นจริง
- การประกาศจากรัชกาลที่ 5 ให้มีการเลิกทาส
กิจกรรมในวันปิยมหาราช
วันปิยมหาราช ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ จะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า พร้อมด้วยการจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในวันปิยมหาราชของทุกๆปี
0
การจัดการองค์การรู้
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
การส่งเสริมการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
การพัฒนาส่วนราชการให้เป็น“องค์การแห่งการเรียนรู้”โดยอาศัยกระบวนการ“การจัดการความรู้”ในยุคที่มีการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่วนราชการต้องสร้างให้ข้าราชการในส่วนราชการมีความรู้เข้มแข็งและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยผลักดันส่วนราชการให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์30โดยในขั้นตอนของการแปลงแผนการปฏิบัติราชการสู่การปฏิบัติจริงนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการที่จะช่วยผลักดันสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ดังนี้ 1.การปรับโครงสร้างองค์การพื้นฐานเพื่อรองรับบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้สะดวก เช่น สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ 2. การปรับขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็ว และกระชับมากขึ้น เพื่อเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น 3. การพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ มีระบบการยกย่องชมเชย และการให้รางวัลที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ และมีวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุก และวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์การ 4. ปรับกฎระเบียบ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) แผนการจัดการองค์ความรู้ประเด็นที่ 1 การส่งเสริมจิตสำนึกและพฤติกรรมการปฺฏิบัติงาน โดยยึดมั่นตามหลักธรรมมาภิบาลในการบริหารงานบุคคล - ประกาศคุณธรรมจริยธรรม - แนวทางปฏิบัติด้านคุณธรรมจริยธรรม - ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น - ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ - นโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี - แผนการเสริมสร้างวินัยคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริต แผนการจัดการองค์ความรู้ประเด็นที่ 2 การพัฒนาความรู้แก่พนักงานส่วนตำบล - คู่มือการสวัสดิ์การพนักงานส่วนตำบล - คู่มืองานสารบรรณ - คู่มือปฏิบัติงานด้านพัสดุ - คู่มือปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี - คู่มือการจัดทำงบประมาณ - คู่มือการปฏิบัติงานกองทุกหลักประกันสุขภาพ - คู่มือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ - คู่มือปฏิบัติงานความรับผิดทางละะเมิด - ตัวอย่างคำสั่งบริหารงานบุคคล องค์ความรู้ (KM) ที่เกี่ยวข้อง 1. องค์ความรู้ภายในองค์กร ความรู้ภายในองค์กร - แผนพัฒนาบุคลากร 2. องค์ความรู้ภายนอกองค์กร ความรู้ภายนอกองค์กร - พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 - พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม - ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ.2547 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 - ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม - ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริการราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม - ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม - ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548
0
ประวัติท้องถิ่นไทย
ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบประกาศให้วันที่ 18 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันท้องถิ่นไทย” ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมา เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกคร องส่วนท้องถิ่น และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพร ะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
ทั้งนี้ การกำหนดวันท้องถิ่นไทยให้ตรงกับวันที่ 18 มีนาคมของทุกปี มีแนวคิดมาจากการที่ จังหวัดสมุทรสาคร จัดงานประเพณี 18 มีนาคม สุขาภิบาลท่าฉลอม โดยมีจุดกำเนิดมาจากการที่สุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแร กของประเทศไทย และมีการจัดงานเป็นประจำทุกปี
“สืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสในวันประชุมเสนาบดีภายหลังเสด็จฯ ประพาสเมืองนครเขื่อนขันธ์ ว่าโสโครกเหมือนกับตลาดท่าจีน (ท่าฉลอม) นี่คือจุดพัฒนาจนก่อกำเนิดสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย”
ท่าฉลอม เดิมเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอเมืองสมุทรสาคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนตรงข้ามกับตำบลมหาชัย ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตการคมนาคมระหว่างตำบลท่าฉลอมกับตำบลมหาชัยมีอยู่ทางเดียว คือต้องนั่งเรือข้ามแม่น้ำท่าจีนซึ่งมีท่าเรืออยู่หน้าเมือง จึงเป็นที่มาของเพลง “ท่าฉลอม กับมหาชัย” ที่ครูเพลงชาลี อินทรวิจิตร แต่งให้ ชนินทร์ นันทนาคร ร้องจนโด่งดังเป็นเพลงอมตะที่ชาวสมุทรสาครและคนทั่วไปรู้จักเพล งนี้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันถนนและสะพานตัดข้ามแม่น้ำท่าจีนเชื่อมต่อถนนพระราม 2 ถึงท่าฉลอม จึงทำให้การคมนาคมมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
สุขาภิบาลท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระบรมราชโองการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอม พร้อมกับพระราชทานชื่อถนนว่า“ถนนถวาย” ซึ่งประชาชนชาวตำบลท่าฉลอมได้ร่วมกันสละที่ดินและเงินสร้างไว้ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2448 จนถึงวันนี้ก็นับเป็นเวลาได้ 106 ปี แล้ว
ย้อนอดีต ไปในปี พ.ศ.2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริที่จะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. (รัตนโกสินทร์ศกที่) 116 ขึ้น ภายหลังที่ทรงส่งคนไปศึกษาดูงานการปกครองในแถบประเทศยุโรป และได้เริ่มทำการทดลองศึกษาขึ้นในกรุงเทพมหานคร สุขาภิบาลนี้ในชั้นต้นให้มีหน้าที่ทำลายขยะมูลฝอย การจัดเก็บที่ถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะของประชาชนคนทั่วไป จัดการห้ามต่อไปภายหน้าอย่าได้ปลูกสร้างหรือซ่อมโรงเรือนที่จะเ ป็นเหตุให้เกิดโรค ขนย้ายสิ่งโสโครกและสิ่งรำคาญของมหาชนไปให้พ้นเสีย การบริหารงานของสุขาภิบาลกรุงเทพฯ นี้ ดำเนินการโดยข้าราชการทั้งหมด โดยมีเสนาบดีกระทรวงนครบาลเป็นผู้กำหนด เมื่อพิจารณารูปแบบการปกครองแล้วจึงไม่อาจกล่าวได้ว่า สุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 เป็นการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากประชาชนมิได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด เป็นการดำเนินการโดยข้าราชการและใช้จ่ายงบประมาณจากส่วนกลาง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสเมืองนครเขื่อนขันธ์ (เมืองพระประแดง สมุทรปราการ) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ร.ศ.124 ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพตลาดเมืองนครเขื่อนขันธ์สกปรกมาก และทรงมีพระราชดำรัสในที่ประชุมเสนาบดีว่า “โสโครกเหมือนกับตลาดท่าจีน” (ตลาดท่าฉลอม) จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ร้อนพระทัยมากทรงคิดหาวิธีร่วมกับ พระยาพิไชยสุนทร ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสาคร ทางพระยาพิไชยสุนทรจึงได้เชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพ่อค้าชาวจีนในตลาดท่าฉลอมมาประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาหาทาง ปรับปรุงแก้ไข ซึ่งได้ข้อสรุปว่าประชาชนและพ่อค้าชาวจีน ยินดีที่จะออกเงินซื้ออิฐปูถนน แต่ขอให้ทางผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ทำถนน โดยใช้แรงงานนักโทษทำการปรับพื้นดินและเก็บกวาดขยะมูลฝอยขนไปเท ทิ้งเป็นครั้งคราว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จออกตรวจดูการดำเนินงานก่อสร้างถนนในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ.124 ถนนสายนี้ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้เรี่ยไรกันเป็น จำนวนเงิน 5,472 บาท เป็นถนนปูอิฐกว้าง 2 วา ยาว 11 เส้น 14 วา และทรงมีพระดำริว่า ถนนสายนี้เป็นของราษฎรได้ลงทุนเสียสละเงินเป็นจำนวนมาก หากไม่มีแผนรองรับการซ่อมแซมไว้ให้ดีแล้วอาจชำรุดเสียหาย ทรงเห็นเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้ภาษีโรงร้านให้เป็นภาษีสำหรับสุข าภิบาล จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานเงินภาษีโรงร้านตลาดท่าฉลอมมาใช้ทำน ุบำรุงท้องถิ่นในกิจการ 3 ประเภท คือ ซ่อมแซมถนน จุดโคมไฟให้มีแสงสว่างในเวลาค่ำคืน และจัดจ้างคนงานสำหรับกวาดขยะมูลฝอย
ข้อเสนอในการใช้ภาษีโรงร้านนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หั ว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2448 จึงนับได้ว่าเป็นวันกำเนิดสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย โดยมีคณะกรรมบริหารชุดแรกประกอบด้วย 1.หลวงพัฒนาการภักดี กำนันตำบลท่าฉลอม 2.ขุนพิจารณ์นรกิจ 3.ขุนพินิจนรภาร 4.จีนพัก 5.จีนศุข 6.จีนเน่า 7.จีนอู๊ด และ 8.จีนโป๊ะ ผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองสมุทรสาครโดยทางรถไฟเพื่อทรงเปิ ด “ถนนถวาย” ที่ประชาชนชาวตำบลท่าฉลอมมีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันเสียสละเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ 18 มีนา